วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบ

1. วิจิตรศิลป์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
    ก. ประณีตศิลป์
    ข. ประยุกต์ศิลป์
    ค. พาณิชย์ศิลป์
    ง. อุตสาหกรรมศิลป์

2. การวางผังปลูกต้นไม้ เป็นการออกแบบอะไร
    ก. การออกแบบตกแต่งภายใน
    ข. การออกแบบตกแต่งภายนอก
    ค. การออกแบบสวนและบริเวณ
    ง. ถูกทุกข้อ

3. มัณฑนศิลป์ เป็นการออกแบบ แบบใด
    ก. การออกแบบตกแต่งภายใน-ภายนอก
    ข. การออกแบบสวน
    ค. การออกแบบเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย
    ง. ถูกทุกข้อ

4. สถาปัตยากรรม คืออะไร
    ก. ศิลปะที่แสดงออกมาด้วยการปั่น
    ข. ศิลปะของการออกแบบโครงสร้าง
    ค. งานศิลปะที่สร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการพิมพ์
    ง. ศิลปะที่นำไปประยุกต์เข้ากับสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์

5. ประติมากรรม แสดงออกด้วยอะไร
    ก. แกะสลัก
    ข. ดนตรี
    ค. พิมพ์
    ง. ภาพวาด

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขนาด และสัดส่วน องค์ประกอบศิลป์























ขนาด และสัดส่วน
ขนาด เป็นส่วนย่อย (Detail) หมายถึง ขนาดความใหญ่ ความเล็ก ความกว้าง ความยาว หรือความลึก ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งวัดได้ตามมาตรา ที่มนุษย์ได้กำหนดหน่วยวัดขึ้นมา เพื่อเป็นมาตรฐานใช้เรียกกัน
สัดส่วน เป็นส่วนรวม (Mass) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งสองสิ่ง ที่มีขนาดต่างกัน เช่นการที่ี่จะระบุว่าขนาดนั้นมีความใหญ่ เล็ก หรือมีความเหมาะเจาะพอดีแค่ใหนนั้น ต้องนำไปเปรียบกับขนาดโดยส่วนรวม (Mass) ที่เรียกว่าสัดส่วน (Proportion)

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความกลมกลืน และ ความขัดแย้ง



ความกลมกลืนมีหลายลักษะ เช่น
     1. กลมกลืนด้วยขนาด  คือ  การนำเอารูปร่างหรือรูปทรงที่มีขนาดใกล้เคียงกันมาจัดวางรวมกัน ใกล้กัน
     2. กลมกลืนด้วยเส้น  คือ  การนำเอาเส้นชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีขนาดใกล้เคียงกัน  มาจัดองค์ประกอบให้มีความกลมกลืน
     3. กลมกลืนด้วยสี  คือ  การเลือกใช้สีในวรรณะเดียวกัน  หรือการใช้สีสีเดียว  เรียกว่า  สีเอกรงค์  เช่น 
สีน้ำเงินสีเดียวหรือสีน้ำตาลสีเดียวแล้วไล่น้ำหนักอ่อนแก หรือใช้สีวรรณะอุ่น  สีวรรณะเย็น มาสร้างงาน 
     4. กลมกลืนด้วยลักษณะผิว  คือ  การนำเอาลักษณะผิวที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน  มาจัดเป็นองค์ประกอบ  เช่น 
ผิวมัน  ผิวละเอียด  ผิวเนียน  มาจัดทำให้มีความกลมกลืนกัน








 
 
ลักษณะความขัดแย้ง  มีดังนี้
     1.  ความขัดแย้งด้วยรูปร่างหรือรูปทรง  เช่น  รูปเหลี่ยมกับรูปกลม เป็นต้น 
     2.  ความขัดแย้งด้วยขนาด  เช่น  รูปทรงขนาดใหญ่ขัดแย้งกับรูปทรงที่มีขนาดเล็กมาก  เป็นต้น 
     3.  ความขัดแย้งด้วยเส้น  เช่น เส้นแนวนอนขัดแย้งกับเส้นแนวตั้ง  เส้นตรงขัดแย้งกับเส้นตัด  เส้นโค้งขัดแย้งกับ
          เส้นฟันปลา  เป็นต้น 
     4.  ความขัดแย้งด้วยลักษณะผิว  เช่น ลักษณะผิวที่ขรุขระย่อมขัดแย้งกับลักษณะผิวที่เรียบ  ลักษณะผิวหยาบ
          ขัดแย้งกับผิวละเอียด 
     5.  ความขัดแย้งด้วยสี เช่น  ขัดแย้งด้วยสีตรงกันข้าม  ขัดแย้งด้วยความเข้มของสี




วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จุดเด่นและจังหวะ



ความหมายของจุดเด่นในทางทัศนศิลป์
จุดเด่น (Dominance) หรือ จุดสนใจ (Point of Interest)

     เป็นสิ่งที่พบเห็น ได้จากชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป เช่น การพูด เมื่อถึงตอนสำคัญที่ต้องการเน้น ก็พูดเน้นให้ดังขึ้น หรือลดระดับเสียงลง หรือหยุดเว้นระยะ เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ การเขียนก็เช่นกัน เมื่อถึงข้อความสำคัญที่ต้องการเน้น ก็ทำ ตัวอักษรให้หนาหรือใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ ให้แตกต่างกว่าข้อความอื่น ๆ ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นการสร้างจุดเด่นโดยทั่วไป


                                

  รูปที่เป็นจุดเด่นหลัก


รูปที่เป็นจุดเด่นรอง


ความหมายของจังหวะในทางทัศนศิลป์
     จังหวะ ทางศิลปะได้แก่ความสอดคล้องของภาพที่มีความเท่ากันขององค์ประกอบในภาพ เช่นกลีบของดอกไม้ มีการจัดวางตามธรรมชาติที่เท่ากัน

รูปที่เป็นจังหวะ