วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความกลมกลืน และ ความขัดแย้ง



ความกลมกลืนมีหลายลักษะ เช่น
     1. กลมกลืนด้วยขนาด  คือ  การนำเอารูปร่างหรือรูปทรงที่มีขนาดใกล้เคียงกันมาจัดวางรวมกัน ใกล้กัน
     2. กลมกลืนด้วยเส้น  คือ  การนำเอาเส้นชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีขนาดใกล้เคียงกัน  มาจัดองค์ประกอบให้มีความกลมกลืน
     3. กลมกลืนด้วยสี  คือ  การเลือกใช้สีในวรรณะเดียวกัน  หรือการใช้สีสีเดียว  เรียกว่า  สีเอกรงค์  เช่น 
สีน้ำเงินสีเดียวหรือสีน้ำตาลสีเดียวแล้วไล่น้ำหนักอ่อนแก หรือใช้สีวรรณะอุ่น  สีวรรณะเย็น มาสร้างงาน 
     4. กลมกลืนด้วยลักษณะผิว  คือ  การนำเอาลักษณะผิวที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน  มาจัดเป็นองค์ประกอบ  เช่น 
ผิวมัน  ผิวละเอียด  ผิวเนียน  มาจัดทำให้มีความกลมกลืนกัน








 
 
ลักษณะความขัดแย้ง  มีดังนี้
     1.  ความขัดแย้งด้วยรูปร่างหรือรูปทรง  เช่น  รูปเหลี่ยมกับรูปกลม เป็นต้น 
     2.  ความขัดแย้งด้วยขนาด  เช่น  รูปทรงขนาดใหญ่ขัดแย้งกับรูปทรงที่มีขนาดเล็กมาก  เป็นต้น 
     3.  ความขัดแย้งด้วยเส้น  เช่น เส้นแนวนอนขัดแย้งกับเส้นแนวตั้ง  เส้นตรงขัดแย้งกับเส้นตัด  เส้นโค้งขัดแย้งกับ
          เส้นฟันปลา  เป็นต้น 
     4.  ความขัดแย้งด้วยลักษณะผิว  เช่น ลักษณะผิวที่ขรุขระย่อมขัดแย้งกับลักษณะผิวที่เรียบ  ลักษณะผิวหยาบ
          ขัดแย้งกับผิวละเอียด 
     5.  ความขัดแย้งด้วยสี เช่น  ขัดแย้งด้วยสีตรงกันข้าม  ขัดแย้งด้วยความเข้มของสี




วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จุดเด่นและจังหวะ



ความหมายของจุดเด่นในทางทัศนศิลป์
จุดเด่น (Dominance) หรือ จุดสนใจ (Point of Interest)

     เป็นสิ่งที่พบเห็น ได้จากชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป เช่น การพูด เมื่อถึงตอนสำคัญที่ต้องการเน้น ก็พูดเน้นให้ดังขึ้น หรือลดระดับเสียงลง หรือหยุดเว้นระยะ เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ การเขียนก็เช่นกัน เมื่อถึงข้อความสำคัญที่ต้องการเน้น ก็ทำ ตัวอักษรให้หนาหรือใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ ให้แตกต่างกว่าข้อความอื่น ๆ ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นการสร้างจุดเด่นโดยทั่วไป


                                

  รูปที่เป็นจุดเด่นหลัก


รูปที่เป็นจุดเด่นรอง


ความหมายของจังหวะในทางทัศนศิลป์
     จังหวะ ทางศิลปะได้แก่ความสอดคล้องของภาพที่มีความเท่ากันขององค์ประกอบในภาพ เช่นกลีบของดอกไม้ มีการจัดวางตามธรรมชาติที่เท่ากัน

รูปที่เป็นจังหวะ